top of page
IMG20220823140355_edited.jpg

Welcome to วัดหนองไผ่ไพศาลี

ประวัติวัดหนองไผ่

ประวัติวัดหนองไผ่ รุ่นสมัยหลวงพ่ออ่อน เนอญฺญา          วัดหนองไผ่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๕ ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดิน ตั้งวัดเนื้อที่ ๔๕ ไร่ ๙๖ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ ยาว ๙ เส้น ๑๘ วา ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว ๙ เส้น ๑๘ วา ติดต่อกับทางหลวงและหมู่ บ้านทิศตะวันออกยาว ๕ เส้น ๘ วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตก ยาว ๖ เส้น ๑๖ วา ติดต่อกับที่ดินของนายเหลือม และนายเมือง มีที่ ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๖๐ ไร่ ๘๐ ตารางวา            พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง สภาพแวดล้อมเป็นหมู่บ้าน อาคาร เสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๘๙ ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๙ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๖ หอสวดมนต์กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๕ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๕ หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานและพระพุทธรูปขนาดและปางต่าง ๆ รวม ๖ องค์  วัดหนองไผ่ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕ มีนามตามชื่อบ้าน โดยมีนายดา บุญผ่อง เป็นผู้นำชาวบ้านดำเนินการจัด สร้างวัดนี้ขึ้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๖ รูป มีโรงเรียนประถมศึกษา ของทางราชการตั้งอยู่ในที่วัดนี้ด้วย ซึ่งทางวัด ได้ให้การอนุเคราะห์ด้วย ดีตลอดมา 
     เจ้าอาวาสมี ๔ รูป คือ รูปที่ ๑ พระอธิการอ่อน พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๕๐๑ รูปที่ ๒ พระอธิการผิน จนฺทาโภ พ.ศ. ๒๕๑๕ -   ๒๕๒๒ รูปที่ ๓ พระครูนิมิตพุทธิสาร(พระอธิการฟุ้ง ปริสาสโภ) พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๔๓รูปที่ ๔ พระครูพิคมพัฒนสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน

Home: Welcome

ค้นหาเส้นทาง

ค้นหาเราได้ที่ google mapวัดหนองไผ่ไพศาลี https://maps.app.goo.gl/2FqBi7LZYqbp1nD58

Untitled

กิจกรรมและข่าวสารทางวัด

พบกับกิจกรรมและข่าวสารต่างๆของทางวัดได้บนเพจ facebook คลิกด้านล่าง

FB_IMG_1664613935956.jpg

ชีวะประวัติ หลวงพ่ออ่อน

ชีวประวัติและปฏิปทาของหลวงพ่ออ่อน เนอญฺญา

     หลวงพ่ออ่อน เนอญฺญา เดิมชื่อ นายอ่อน หลอดแก้ว เกิดวันพุธ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีชวด ที่บ้านหนองไผ่ ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

     บิดาชื่อ นายหลอด มารดาชื่อ นางแก้ว

ที่มาของคำว่าหลอดแก้ว

คำว่า “หลอดแก้ว” เดิมเป็นชื่อบิดา และมารดา คนสมัยก่อน สันนิษฐานว่า คงใช้ “แซ่” แทนนามสกุล แต่ไม่ปรากฏว่า ชื่อแซ่อะไร มายุคสมัยหลวงพ่ออ่อน จึงใช้นามบิดา และ มารดา รวมกันจึงได้นามว่า “หลอดแก้ว” ซึ่งหลวงพ่ออ่อนใช้เป็นนามสกุล

บรรพชาอุปสมบท

     คาดว่า อุปสมบท ประมาณอายุ ๒๑-๒๒ ปี มรณภาพเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๑ สิริรวมอายุได้ทั้งสิ้น ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา

งานสาธารณูปการ(หลวงพ่ออ่อน เนอญฺญา)

     เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ประจำวัดหนองไผ่หลายอย่าง อาทิเช่น อุโบสถ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ กุฏิสงฆ์ ๕ หลัง สระน้ำ โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๑๓ ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด

     หลวงพ่ออ่อน เนอญฺญา ท่านเป็นพระที่ทรงวิชาอาคมขลังศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่ามีชื่อลือชา รุ่นยุคสมัยหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร วัดหนองโพธิ์ และ  หลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่ ทั้ง ๓ ท่านนี้ มีชื่อเสียงเรียงนามในยุค เดียวกัน ฝ่ายวิชาอาคมขลัง และวาจาศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง ๓ ท่าน มีอยู่ครั้งหนึ่งทั้ง ๓ ท่านมีโอกาสมาเจอกันมานั่งจิบน้ำชาที่วัดหนองไผ่ ในขณะที่ทั้ง ๓ ท่านนั่งจิบน้ำชาอยู่ มีเด็กเลี้ยงวัว หรือเลี้ยงควายไม่ทราบแน่ชัดได้ขึ้นไป บนต้นไม้ หลวงพ่อเดิม ท่านเอ่ยปากออกมาว่า “ไอ้หนูมึงอย่าขึ้นไป มัน จะตกลงมา” หลวงพ่อเดิมพูดจบ หลวงพ่ออ่อน ท่านพูดขึ้นบ้าง “ถึงตก ลงมาก็ค้าง” และหลวงพ่อศักดิ์ท่านก็ได้กล่าวต่อไปอีก “ถึงค้างก็ต้องล่วงลง มาอีก” ปรากฏว่า เด็กคนที่ขึ้นไปบนต้นไม้ไม่ยอมลง ตกลงมาจริงๆ แต่ ตกลงมาค้างอยู่ที่ไม้ไว้ตอนหนึ่ง แต่ผลสุดท้ายก็ล่วงลงมาถึงพื้นจริงๆ ท่านผู้อ่านจะคิดว่าเป็นเหตุบังเอิญ หรือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ไม่ทราบ แต่ศิษย์ของหลวงพ่อหรือพระอาจารย์ทั้ง ๓ ท่านนี้ ทราบกันดีเกี่ยวกับวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน

พลายคูณติดหล่ม

     ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเดิม ท่านมาเยี่ยมเยียนหลวงพ่ออ่อน หรือมาทำอะไร ไม่ทราบที่วัดหนองไผ่ หลวงพ่อเดิมเวลาที่ท่านจะไปไหนท่านจะมี พาหนะตัวโปรดของท่านนั่นคือ พลายคูณ (ช้าง) พลายคูณลงไปกินน้ำ ในสระไม่ได้รับอนุญาตจากหลวงพ่ออ่อน ก่อน บังเอิญเท้าพลายคูณ จุ่มลงไปในน้ำชายตะหลิ่ง เวลาจะขึ้นกับดึงเท้าขึ้นไม่ได้เท้ามันติดหล่มหมดทั้ง ๒ เท้า ควาญช้างจึงต้องไปบอกหลวงพ่ออ่อนๆท่านก็ไม่ได้ทำอะไร เพียง ท่านพูดให้พลายคูณขึ้นมาเท่านั้น พลายคูณก็ขึ้นมาได้เลย หลังจากนั้น ควาญช้างต้องมา ขอขมาหลวงพ่ออ่อนๆ ท่านบอกว่าทีหลังอย่านช้างลงไป กินน้ำในสระอีก เพราะญาติโยมทั้งหลายเขามาดื่มกินที่นี่.

พระนางห้อง

     หลวงพ่ออ่อน เนอญญา ท่านเป็นพระที่ไม่ค่อยสัญจรไปไหนมาไหนไกลเท่าไร เพราะเหตุที่ไม่ได้ท่องเที่ยวนี่เองจึงได้ฉายาจากหลวงพ่อเดิมว่าเป็น “พระนางห้อง” หมายถึงท่านมีชื่อเสียงเฉพาะพื้นถิ่น จะสังเกตุ ได้เวลาท่านทำของขลังไม่ว่าเป็นสมเด็จ รูปหล่อ ขี้ผึ้ง ผงเมตตา มหานิยม และอีกหลายอย่างท่านมีชื่อเสียงเฉพาะพื้นที่ในเขตอำเภอ ไพศาลีเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้เริ่มมีชื่อเสียงไปที่อื่นบ้างแล้ว เช่นในกรุงเทพฯ มี ลูกศิษย์ลูกหาที่มานับถือมากขึ้น แต่ก็ไม่เหมือนหลวงพ่อเดิมท่านมีชื่อเสียงดังมาก ในวงการของพระเครื่อง

     หลวงพ่ออ่อน เนอญฺญา ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนอีกรูปหนึ่ง ท่านชอบสันโดษอยู่อย่างสมถะท่านเป็นพระปฏิบัติ เจริญสมถะ และวิปัสสนากรรมมัฏฐาน ผู้เขียนรู้ได้จากหนังสือเล่มเก่าๆ ที่ท่านได้เขียนไว้ และได้สอบถามบุคคลรุ่นก่อนๆที่เกิดทันหลวงพ่อในสมัยนั้น หลังจากที่หลวงพ่ออ่อนมรณะภาพลง หลวงพ่อผิน จนฺทาโภ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองไผ่สืบต่อมา

Home: Resources
bottom of page